วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลวงปู่จันทร์ จันทะโชติ วัดนางหนู จังหวัดลพบุรี

หลวงปู่จันทร์ ท่านเกิดที่ลพบุรี ในปี  พ.ศ.๒๓๙๕ เดิมท่านชื่อ "จัน" หรือ "จันทร์"  ที่บ้านบางพุทโธ ตามประวัติท่านไม่ปรากฎว่าชื่อบิดาและมารดา หลวงปู่จันทร์จึงตัดสินใจเข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคน (ไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัดว่าท่านบวชณ.อายุได้เท่าไหร่) หลวงปู่จันทร์ท่านเข้าอุปสมบท ณ วัดบัว ซึ่งวัดนี้อยู่ตรงข้ามกับวัดนางหนูนั่นเอง โดยการอุปสมบทของท่านมี พระสังฆภารวาหะมุนี (เนียม) วัดเสาธงทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ และท่านได้นามฉายาทางพระว่า "จันทโชติ" ท่านได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดบัว ที่ท่านอุปสมบทนั่นเอง จนต่อมาเห็นว่าสภาพวัดนางหนู ซึ่งอยู่ฝั่งตรงข้ามชำรุด ทรุดโทรมมากเกือบจะร้างก็ว่าได้ และไม่มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่เลย ท่านจึงได้ย้ายไปพำนักอยู่ที่วัดนางหนู ปี พ.ศ.๒๔๙๐ รวมสิริอายุ ๙๗ ปี

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

หลวงพ่ออี๋ พุทธสโร เกิดเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๐๘ เป็นบุตรชาย นายขำ และนางเอียง นามสกุลเดิมทองขำ โดยท่านเกิดที่บ้านตำบลสัตหีบ กิ่งอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พอท่านอายุได้ราว ๒๕ ปี ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดอ่างศิลานอก โดยมี พระอาจารย์จั่น จนฺทโส เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทิม เป็นกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์แดง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอุปัชฌาย์ได้ให้ฉายาทางพระแก่ท่านว่า "พุทธสโร" และต่อมาท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาจาก หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย สมุทรปราการ
    สำหรับวัดสัตหีบนั้น เป็นวัดที่หลวงพ่ออี๋ท่านได้ริเริ่มสร้างขึ้นเองเมื่อปี พ.ศ. 2442 และ หลวงพ่ออี๋เองท่านก็เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสัตหีบนี้นี่เอง คนทั่วไปจึงเรียกวัดนี่อีกชื่อหนึ่งว่า วัดหลวงพ่ออี๋
    วันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๙ เวลา ๒๑.๐๕ น. ท่านได้มรณะภาพด้วยอาการนั่งอย่างสงบ สิริรวมอายุของท่านได้ ๘๒ ปี

วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต วัดบางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม

หลวงพ่อคง ธมฺมโชโต ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒ เมษายน ๒๔๐๘ ณ บ้านสำโรง ปัจจุบันคือ ต.โรงหีบ อ.บางคณฑี จ.สมุทรสงคราม เป็นบุตรของ นายเกตุ กับ นางทองอยู่ นามสกุล จันทร์ประเสริฐ  เมื่ออายุได้ ๑๒ ปี บิดาและมารดาของท่านทำการบรรพชาให้ท่านเป็นสามเณรที่วัดเหมืองใหม่ อ.อัมพวา พออายุท่านใกล้ที่จะบวชพระท่านได้ทำการลาสิกขาจากสามเณรออกมา เพื่อช่วยการงานของบิดาแลมารดา พออายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้ลาโยมบิดาและมารดา เพื่อเข้าอุปสมบท ณ วัดเหมืองใหม่ โดยมี พระอาจารย์ด้วง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอธิการทิม วัดเหมืองใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางพระว่า "ธมมฺโชโต" อันแปลว่า เป็นผู้รุ่งเรืองโดยธรรม
    หลังจากที่ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ท่านได้จำพรรษาที่วัดเหมืองใหม่ทีท่านบวชอยู่นั่นเอง จนกระทั่งมีพรรษาได้ ๒๑ ในปี ๒๔๔๘ ชาวบ้านใน ต.บางกะพ้อม จ.สมุทรสงคราม ได้อาราธนาท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม เนื่องจากตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดได้ว่างลง
    หลังจากที่ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกะพ้อม หลวงพ่อคงท่านได้ทำการ บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุภายในวัด ซึ่งชำรุดทรุดโทรม สร้างความเจริญให้แก่วัดบางกะพ้อม  ต่อมาท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลบางกะพ้อม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระอุปัชฌาย์ เพื่อให้การอุปสมบทแก่บุตรของประชาชนทั่วไปได้ใน พ.ศ.๒๔๖๔ หลวงพ่อคง ท่านมรณภาพวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๖ สิริอายุ ๗๘ ปี พรรษาที่ ๕๘

วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่อจาด คังคสโร วัดบางกระเบา อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

หลวงพ่อจาด คังคสโร หรือ พระครูสิทธิสารคุณ เดิมท่านชื่อ จาด นามสกุล วงษ์กำพุช ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๕ ที่บ้านดงน้อย อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา บิดาชื่อนายปอ วงษ์กำพุช (มารดาไม่ปรากฎชื่อ เนื่องจากถึงแก่กรรมตั้งแต่ท่านยังเยาว์) ต่อมาบิดาของท่านได้ยกท่านให้เป็นบุตรบุญธรรมของนายถิน และนางหลิน สีซัง คหบดีชาวบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งบิดาและมารดาบุญธรรมของท่านทั้งสองท่านนี้ได้ให้ความรักและความเมตตาแก่ท่านหลวงพ่อจาดในวัยเด็กอย่างมาก เพราะท่านไม่มีลูกเป็นของตนเอง พอท่านอายุพอที่จะอุปสมบทได้ คืออายุราว ๒๐ ปี ก็ได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
ต่อมาเมื่อได้ได้เล่าเรียนพอสมควรแล้ว ท่านจึงได้ออกธุดงค์ตามป่าเขาเป็นเวลานานอยู่หลายปี ซึ่งใน การธุดงค์ของท่านนั้นก็ได้พบพระธุดงค์เช่นเดียวกับท่านมากมาย เช่น หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง เป็นต้น พออายุท่านได้ประมาณ ๔๐ ปี ท่านจึงได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี หลวงพ่อจาดมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน (บางแห่งระบุว่าเป็นเดือน มิถุนายน) พ.ศ. ๒๔๙๙ สิริอายุรวม ๘๕ ปี

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2558

หลวงพ่อจง พุทฺธสโร วัดหน้าต่างนอก จ.พระนครศรีอยุธยา



หลวงพ่อจง พุทฺธสโร ท่านเกิดเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๕ โดยมีโยมบิดาชื่อ ยอด โยมมารดาชื่อ ขริบ เป็นชาวอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยกำเนิด เมื่อท่านมีอายุ ๑๑ ปี บิดาได้ทำการบรรพชาเป็นสามเณรให้ที่แก่ท่าน ณ. วัดหน้าต่างใน ต่อมาเมื่อมีอายุครบ ๒๑ ปี จึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อินทร์ วัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านได้รับฉายาว่า พุทฺธสโร

เมื่อบวชแล้วก็อยู่จำพรรษาที่วัดหน้าต่างใน เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและวิปัสสนากรรมฐาน ตลอดจนวิทยาคมต่าง ๆ กับหลวงพ่อสุ่น ผู้ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์โพธิ์ ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ของท่าน ต่อมาท่านจึงย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่ วัดหน้าต่างนอก ในปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ซึ่งวัดหน้าต่างนอกก็อยู่ตรงข้ามกับวัดหน้าต่างในที่ท่านจำพรรษาอยู่เดิมนั่นเอง และท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก จนถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๘ รวมสิริอายุได้ ๙๒ ปี ๗๑ พรรษา หากรวมพรรษาในขณะเป็นสามเณรด้วยจะได้ได้ ๗๖ พรรษา ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกได้นานถึง ๕๘ ปี

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

พระพุทธชินราช


พระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ที่วิหารด้านตะวันตกซึ่งอยู่ภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร พิษณุโลก โดยมีการสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๑๙๐๐ ตรงกับรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ หรือพระเจ้าลิไทย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย พระพุทธชินราชได้รับการยอมรับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะที่งดงามที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย

แต่พระพุทธชินราช ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด คงมีแต่เรื่องรางในพงศาวดารเหนือ ซึ่งเป็นเอกสารที่เล่าถึงตำนานเมืองเหนือในสมัยกรุงศรีอยุธยา ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่โดยพระวิเชียรปรีชา (น้อย) ในปี พ.ศ. ๒๓๕๐ ที่อ้างถึงกษัตริย์เชียงแสนพระนามพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกเป็นผู้สร้าง พร้อมกับการสร้างเมืองพิษณุโลกและพระพุทธรูปอีก ๒ องค์คือพระพุทธชินสีห์และพระศรีศาสดา